หน้าหลัก ข้อมูลวิทยาลัย
ข่าวสาร
ผลงานศิลปะ
บทความและงานวิจัย
ติดต่อเรา
บทความ > บทความศิลปะโดย เสวกจิรสุทธิสาร > ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์ไทย ?
ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์
Water Liliss, 1914 Claude Monet
Oil on canvas, 200x200 cm 1840-1926

จิตรกรกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์ได้วาดภาพโดยทดลองตามทฤษฎีสี และวิทยาการใหม่ๆและได้พบวิธีการที่นำมาใช้กับงานรูปแบบใหม่ คือรูปแบบนี้จะไม่มีเส้นรอบนอกบอกรูปทรงของวัตถุคมชัดนัก เพื่อให้ตรงกับหลักความคิดที่ว่าวัตถุ และบรรยากาศ เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มีแสงเป็นตัวการสำคัญ สีของสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเปลี่ยน ไปโดยแสงที่อยู่รอบๆและโดยเงาสะท้อนจากของสิ่งอื่นๆ และ โดยการตัดกันของสีที่อยู่ใกล้เคียง ไม่มีสีดำในธรรมชาติ เขาจะใช้สีสดๆแต้มขาดเป็นช่วงๆ...1(วีรวรรณ มณี 2528:127)

ต้นปีพ.ศ. 2549 (10ม.ค.-5ก.พ.2549) โดยชมรมศิษย์ช่างศิลป รุ่น 14 (คือรุ่นเดียวกับคุณวาณิช จรุงกิจอนันต์) ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป (ถ.เจ้าฟ้า) ได้จัดแสดงผลงานเชิดชูเกียรติ อาจารย์ จำรัส เกียรติก้อง (พ.ศ.2459-2509) ศิลปินเอกของชาติ คือ นิทรรศการ “เสน่ห์ของภาพเหมือน...เสน่ห์เหนือกาลเวลา” ทำให้ได้เห็นผลงานภาพเหมือนชิ้นเอกอีกจำนวนมาก กว่าที่ได้เคยเห็นจากหอศิลปแห่งชาติ และยังได้มีโอกาสรู้ถึงเรื่องราวและการวาดภาพของท่านเกี่ยวกับ “สีดำ”ในยุคนั้นด้วย ดังนี้

“…อิมเพรสชั่นนิสม์เป็นจุดเริ่มต้นศิลปะสมัยใหม่ของยุโรป ความมุ่งหมายของศิลปินกลุ่มนี้ต้องการที่จะแปลความงามของธรรมชาติด้วยการใช้สี-แสงแสดงบรรยากาศเป็นลำดับ...และสร้างความประทับใจจากการใช้สีแนวใหม่(new palette) และมีการเลิกใช้สีดำ สีน้ำตาลไหม้ (bistre) สีน้ำตาล (Sienna brown) ...”ซึ่งแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเช่นนี้สอด คล้องกับแนวทางการพัฒนาผลงานของ อาจารย์จำรัส เกียรติก้อง จิตรกรภาพเหมือนของไทย... โดยนำวิธีแบบอิมเพรสชั่นนิสม์มาปฏิรูปให้สีสันดีขึ้นแทนวิธีเขียนแบบโบราณ “ยุคบาร็อค”ของยุโรปที่นิยมเขียนพื้นหลัง (back ground) โดยใช้สีเข้มเป็นสีน้ำตาลไหม้...2(ชัยนันท์ชะอุ่มงาม-2549:127)


สตรีชุดราตรีนั่ง
สีน้ำมันบนผ้าใบ64X90 ซ.ม. พ.ศ.2505 จำรัส เกียรติก้อง

“สีดำ”ที่อ้างถึงนั้นหมายถึงการวาดภาพด้วย สีน้ำมันเป็นหลักตามวิธีของศิลปินอาชีพส่วนใหญ่

“สีดำ”ได้ถูกค้นพบเป็นอันดับแรกๆในการใช้วาดภาพและคิดค้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสีน้ำมันและสีน้ำในหลายๆคุณสมบัติของมันจนถึงทุกวันนี้

นอกเหนือจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า “ไม่มีสีดำในธรรมชาติ”แล้ว (จากอิทธิพลและบรรยากาศของแสง) “สีดำ”ยังเป็นปัญหาอย่างมากในการเขียนภาพด้วยสีน้ำ ในสมัยก่อนสีดำไม่ได้รับการพิจารณาในการใช้กับสีน้ำเป็นเพียงพออนุโลมได้เท่านั้น เพราะในการใช้ผสมกับสีอื่นๆมันจะทำให้เกิดความสกปรกกับสีที่มันไปผสมด้วยนั่นเอง...3

 
เรียบเรียงโดย เสวก จิรสุทธิสาร

__________________________

เอกสารประกอบการเขียน

  1. วีรวรรณ มณี, จิตรกรยุโรป ในศตวรรษที่19, 2528, น.127
  2. ชีวิตและผลงานของอาจารย์จำรัส เกียรติก้องศิลปินเอกของชาติ บ.ครีเอทีฟ คอร์เนอร์ จำกัด
  3. Schmincke HORADAM Aquarell p.13 n.d.

ภาพประกอบ

  1. MONET, TASCHEN PORTERBOOK, 1996, Germany
  2. ชีวิตและผลงานของอาจารย์จำรัส เกียรติก้องศิลปินเอกของชาติ

บทความศิลปะ โดย เสวก จิรสุทธิสาร
  1. บุญชัย เรียนศิลปะ
  2. วินสตัน เชอร์ชิล:ชีวิตในฐานะจิตรกร
  3. พระอัจฉริยภาพทางศิลปะของมกุฎราชกุมารอังกฤษ
  4. อาจารย์เฟื้อเรียนศิลปะ
  5. เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?
  6. ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์ไทย ?
  7. วาดอะไรก็ได้ ใครๆ ก็ชอบ
  8. เทคนิคจิตรกรรม
  9. ก่อนคุณจะเริ่มต้นวาดรูปสีน้ำ
  10. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนสเปน
  11. อคาเดมิก อาร์ต และปิกาสโซ
  12. สีน้ำสำหรับการวาดภาพ
  13. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนเบลเยี่ยม
  14. สัดส่วนความงามของคนในงานศิลปะ

 


วิทยาลัยช่างศิลป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2326 4002 - 4 โทรสาร 0 2326 4013
E-Mail :