หน้าหลัก ข้อมูลวิทยาลัย
ข่าวสาร
ผลงานศิลปะ
บทความและงานวิจัย
ติดต่อเรา
บทความ > บทความศิลปะโดย เสวก จิรสุทธิสาร > อคาเดมิก อาร์ต  และปิกาสโซ

อคาเดมิก อาร์ต และปิกาสโซ

          ในปลายปี 1895 ปิกาสโซ ( pablo Ruiz Picasso 1881-1973) ได้วาดภาพใหญ่ชิ้นสำคัญชิ้นแรกของเขาที่ชื่อ“พิธีรับศีลครั้งแรก ( The First Communion)” เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา ที่ปิกาสโซได้รับ การแนะนำอย่างใกล้ชิดจากพ่อของเขา ( Don Jose Ruiz  Blasco ซึ่งเป็น ศิลปินและครูสอนศิลปะ) และหวังในตัวลูกชายว่าจะเติบโตในเส้นทางศิลปินได้           สิ่งที่พ่อของเขาสอนให้มีจิตสำนึกในการเป็นศิลปินนั้น ก็คือบทเรียนทั่วไป ที่ใช้สอนในสถาบันศิลปะ ที่มักใช้บทเรียนแบบเดียวกันหมด  คือให้นักเรียนใส่ใจ
กับเรื่องราวที่ถ่ายทอดลงในงานศิลปะนั้นที่มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา นิยาย หรือความเชื่อต่างๆ หรือเหตุการณ์ทั่วๆไป  ที่ภาพจะต้องกำหนดรายละเอียดต่างๆ
อย่างชัดแจ้ง  บทเรียนนี้ในสถาบันศิลปะเรียกว่า อะคาเดมิก อาร์ต (Academic Art)
           ความคิดเห็นในยุคนั้นก็ยังคงความเชื่อเดิมๆที่ต้องทำศิลปะในแบบคลาสสิกเท่านั้น ที่เป็นรากฐานสำคัญให้กับสถาบันของอคาเดมิก อาร์ต จึงจะเข้าถีงในจิตใจ ของผู้คน อย่างแท้จริงได้   เขาทำตามคำแนะนำของพ่อ จึงเลือกวิธีการทางศิลปะแบบอคาเดมิก อาร์ต นี้ในการสร้างงานศิลปะชิ้นใหญ่ชิ้นแรกในชีวิตการเป็นศิลปินนักวาดของเขา    ปี 1897 ปิกาสโซวาดภาพใหญ่ชิ้นที่สองชื่อ “ศาสตร์กับความการุญ( Science and Charity)”ในกรุงมาดริด ซึ่งเขาศึกษาอยู่ที่ รอยัล  อคาเดมี แห่ง ซาน เฟอร์นานโด  แต่เขาเรียนอยู่ได้ไม่นานก็ต้องออกในปลายปีนั้นเพราะป่วย

 

 

 

 

ภาพการรับศีลครั้งแรก(First Communion) วาดปี1895-96

                ภาพวาดชิ้นนี้ เขาก็ยังคงใช้เทคนิคทำงานเขียนแบบอคาเดมิก อาร์ต  เขาส่งงานเข้าแสดงงานศิลปะใน  กรุงมาดริด  และยังส่งไปแสดงที่มาลากา ที่เป็นบ้านเกิดอีกด้วย  ซึ่งที่มาลากางานของเขาได้รับรางวัลเหรียญทองด้วย  งานชิ้นนี้เขาวาดขณะมีอายุเพียง 17 ปีเท่านั้น  ทำให้เป็นที่เข้าใจกันว่า เขาเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุด และสดที่สุดในบาร์เซโลนา ที่หาญกล้าทำงานชิ้นใหญ่ก่อนศิลปินรุ่นพี่ๆที่ร่วมศึกษาศิลปะในยุคสมัยเดียวกัน  ซึ่งอาจหมายรวมถึงทั่วโลกด้วย  ที่ผู้คนเข้าใจกันว่า ปิกาสโซ คือศิลปินผู้สร้างงานอันสมบูรณ์ออกมาด้วยวัยวุฒิที่น้อยที่สุด
              ที่กรุงมาดริด ปิกาสโซเริ่มได้รับความสำเร็จขณะที่อายุยังน้อย โดยใช้วิถีชีวิตแบบศิลปินจัดแสดงภาพวาดที่ร้าน The Four Cats โดยมีภาพแสดงถึง 150 ภาพ  และที่ร้านแห่งนี้เอง เขาได้รู้จักกับพวกศิลปินและแนวทางศิลปะรูปแบบใหม่จากฝรั่งเศสและเรื่องราวเกี่ยวกับปารีส เรื่องเกี่ยวกับการปฏิวัติทางศิลปะ ทำให้เขาตัดสินใจที่จะหันเหแนวทางการทำงานศิลปะให้เป็นยุคใหม่
มากกว่าที่จะเดินตามรอย อคาเดมิก อาร์ต ในแบบที่ซึมซับมาจากบทเรียนของพ่อ
             ปิกาสโซ ได้เดินทางไปปารีสในปีค.ศ. 1900 และนั่นเป็นสาเหตุทำให้พ่อของเขาไม่พอใจ  เนื่องจากเขาหวังว่าปิกาสโซจะดำเนินชีวิตศิลปินที่ถูกหลัก ถูกทางตามจารีตของศิลปินผู้มีสถาบัน  ไม่ใช่ศิลปินแบบโบฮีเมียน (Bohemian) หรือคนนอกรีตแบบที่เขากำลังมุ่งเป้าไป

           สำหรับ อคาเดมิก อาร์ต ในการศึกษาศิลปะของประเทศไทยนั้น  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ ได้กล่าวไว้โดยย่อคือ  เมื่ออาจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมในพ.ศ. 2505 ไปแล้ว  มีบางคนพูดว่า ศิลปะร่วมสมัยของไทยได้ก้าวออกจากยุคศิลปะอะคาเดมิคแล้ว  ดูเป็นทำนองว่าถ้าอาจารย์ศิลป์ยังอยู่  ศิษย์ทั้งหลายของท่านจะต้องทำงานแบบอะคาเดมิคอยู่ต่อไปอีก   ท่านได้ชี้
แจงว่าความหมายของอะคาเดมิค ในทางศิลปะมี 2 อย่างคืออย่างแรก เป็นหลักสูตรและวิธีการศึกษาศิลปะที่ทำกันอยู่ในอะคาเดมีต่างๆในยุโรปสมัยก่อน  คือกำหนดให้ศึกษาจากธรรมชาติ อย่างเคร่งครัด  เป็นแบบแผน  เป็นขั้นตอน  ด้วยการฝึกเขียน  ปั้นจากแบบปูนพลาสเตอร์  จากแบบเปลือย  ฝึกการปั้นภาพนูนต่ำ  นูนสูง และลอยตัว  ฝึกการระบายสีจากหุ่นนิ่ง  จากแบบ ฝึก การเขียน หรือปั้นขนาดใหญ่เป็นต้น  การศึกษาแบบนี้เรียกว่าศึกษาตามแบบที่อะคาเดมีเขาเรียนเขาสอนกัน  อาจารย์ศิลป์ ท่านก็นำการศึกษาแบบอะคาเดมิคมาใช้ โดยเฉพาะในระดับอนุ-
ปริญญา
        อย่างที่สองคือ งานศิลปะแบบอะคาเดมิค หรือ Academic Art นั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของงานประเภท Realistic ที่ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ของอะคาเดมิค อยู่ค่อนข้างเข้มงวด  อะคาเดมีเหล่านี้ เริ่มมีขึ้นตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในอิตาลีส่วนมากจะมีอำนาจชี้ขาดความมีคุณค่า หรือไม่ของงานศิลปะของประเทศ  รวมไปถึงการกำหนดสถานภาพของศิลปินด้วย

         อะคาเดมิคที่มีชื่อได้แก่  London’s Royal  Academy of Art  และ  Paris’s Academic  des Beaux
Arts มีหน้าที่ให้การศึกษาและจัดนิทรรศการศิลปะกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมีตั้งแต่กำหนดความสำคัญลดหลั่นกัน ของเรื่อง ที่จะทำเช่น  อันดับหนึ่งได้แก่จิตรกรรมเรื่องประวัติศาสตร์  เรื่องในพระคัมภีร์ และเทพนิยายกรีก  ถัดมาได้แก่ภาพเหมือน และทิวทัศน์ที่สำคัญอันดับสุดท้ายได้แก่ หุ่นนิ่ง  และศิลปะชีวิตประจำวัน  รูปแบบของงานก็จะต้องถูกต้องตามธรรมชาติ ทุกอย่าง  งานแบบนี้จึงเย็นชืด  ไม่มีพลังการสร้างสรรค์ เพราะต้องทำตามคำสั่งทุกอย่าง แต่ในระยะต่อมาอิทธิพลของ
อะคาเดมีก็ลดน้อยลง  เพราะทานต่อกระแสของความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ได้  และในที่สุด  Academic  Art ก็มีความหมายไปทางลบ
        ดังนั้น คำว่า Academic กับ Realistic จึงไม่เหมือนกัน  อย่างแรกได้ชี้แจงไปแล้วอย่างหลังเป็นรูปแบบของ การสร้างสรรค์โดยใช้รูปทรงที่ยังดูรู้ว่าเป็นสิ่งใดอยู่   จะเหมือนของจริงมากหรือน้อยไม่ใช่เรื่องสำคัญ  จะตัดทอน จะทำให้เรียบง่ายเท่าไรก็ได้  ตราบที่ยังมีเค้าว่าเป็นรูปของสิ่งนั้น สิ่งนี้  ก็จัดเป็นงานแบบ  Realistic ทั้งสิ้น  คำนี้มักใช้ กับงานศิลปะที่ตรงข้ามของศิลปะนามธรรม กล่าวอย่างย่อก็คือ  อาจารย์ศิลป์ ท่านสอนแบบอะคาเดมิค แต่ในงาน สร้างสรรค์ท่านจะสนับสนุนให้ทำแบบ Realistic ไปก่อน จนกว่าความจำเป็นของการแสดงออกมันจะนำไปสู่รูปแบบ นามธรรม หรือ Abstract เอง...

    ศาสตร์และความการุณ(Science and Charity)   วาดปี1897  

 
 

 

          ย้อนมายังปิกาสโซ ที่หันหลังให้กับ อะคาเดมิก อาร์ต ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เพราะทานต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ได้  เมื่อเขาได้ไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้นคือศูนย์กลางของศิลปะ ในยุโรปอย่างแท้จริง  เขาตื่นตากับการได้ชมภาพเขียนของเหล่าศิลปินรุ่นพี่ เช่น ตูลูส  โลเตรก (1864 – 1901) , เอดการ์  เดอการ์ ( 1834 - 1917 )   และ ปอล  เซซานน์(1839 -1906) เป็นต้น  ซึ่งเป็นกลุ่มศิลปินแนวอิมเพรสชันนิสต์ที่ผันแนวทางสู่ศิลปะยุคใหม่  กรณี ตูลูส  โลเตรก แม้ว่าจะมีช่วงชีวิตการทำงานศิลปะที่แสนสั้น   แต่การทำงานของเขามีอิทธิพลต่อศิลปินในรุ่นถัดมา
อย่างมาก  ความวิจิตรล้ำหน้าในงานของเขาได้เป็นแรงกระตุ้นอย่างมากต่อศิลปินทั้งหลาย  โดยเฉพาะ ปิกาสโซ และศิลปินกลุ่ม Fauvists อย่างเช่น อังเดร  เดอแรง  และเฮนรี  มาตีส ซึ่งพัฒนางานไป จนเป็นแนวของตนเอง
         ปิกาสโซ ได้กล่าวว่า  “ในปารีส  ฉันเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ศิลปินที่ยิ่งใหญ่อย่าง โลเตรก เป็น”สำหรับ ปอล  เซซานน์  ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะสมัยใหม่ ( The Father of Modern Art) ซึ่งในงานจิตรกรรมของเขา โดยเฉพาะชุดระยะหลัง ซึ่งแนวเนื้อหาและวิธีการมีความลึกซึ้ง ที่มีผลต่อศิลปะในศตวรรษที่ โดยเฉพาะศิลปินสำคัญหลายคนที่เปรียบได้กับเป็นตัวแทน ของงาน จิตรกรรมสมัยใหม่  อย่างเช่น โกแกง  มาตีส  ปิกาสโซ และบร็าค เป็นต้น

  

           ปิกาสโซ ใช้ชีวิตศิลปินอยู่ในปารีส และสร้างงานในรูปแบบต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลมาจาก ศิลปิน หลายๆคน  และนับแต่ปี ค.ศ. 1907 เป็นต้นมา  ภาพเขียนของเขาจะแหวกแนวออกมาอย่างสุดโต่ง  เป็นที่ตกตะลึงแก่ผู้พบเห็น  เขากล่าวว่า  ภาพทุกๆภาพนั้น มาจากการกุขึ้น หรือโกหกทั้งสิ้น  ศิลปะในสายตาของเขานั้นเป็นเรื่องโกหก  เรื่องราวทุกเรื่องล้วนมาจากเรื่องที่ตกแต่ง หรือจินตนาการ ขึ้นมาทั้งสิ้น  ดังนั้น เราจะแต่งให้เรื่อง ให้รูปนั้นออกมาอย่างไรก็ได้

ภาพสาวงามแห่งอาวีญอง(Les demoiselles d’ Avignon) ปี 1907
       สีน้ำมันบนผ้าใบ 243.9 x 233.7 ซม.

เรียบเรียงและแปล โดย   เสวก  จิรสุทธิสาร


เอกสารประกอบการเขียน

  1. หนึ่งธิดา  :  ปาโบล  ปิกาสโซ , สำนักพิมพ์พิราบ , กรุงเทพฯ
  2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด  นิ่มเสมอ : อาจารย์ศิลป์กับศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย, ปาฐกถา  ครั้งที่ 8, อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง  จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ, 2546
  3. Udo  Felbinger : Henri  de  Toulouse – Lautrec, Konemann, Colongne, 1999
  4. Nicola  Nonhoff : Paul  Cezanne, Konemann, Colongne, 1999

บทความศิลปะ โดย เสวก จิรสุทธิสาร

  1. บุญชัย เรียนศิลปะ
  2. วินสตัน เชอร์ชิล:ชีวิตในฐานะจิตรกร
  3. พระอัจฉริยภาพทางศิลปะของมกุฎราชกุมารอังกฤษ
  4. อาจารย์เฟื้อเรียนศิลปะ
  5. เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?
  6. ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์ไทย ?
  7. วาดอะไรก็ได้ ใครๆ ก็ชอบ
  8. เทคนิคจิตรกรรม
  9. ก่อนคุณจะเริ่มต้นวาดรูปสีน้ำ
  10. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนสเปน
  11. อคาเดมิก อาร์ต และปิกาสโซ
  12. สีน้ำสำหรับการวาดภาพ
  13. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนเบลเยี่ยม
  14. สัดส่วนความงามของคนในงานศิลปะ

วิทยาลัยช่างศิลป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2326 4002 - 4 โทรสาร 0 2326 4013
E-Mail :