หน้าหลัก ข้อมูลวิทยาลัย
ข่าวสาร
ผลงานศิลปะ
บทความและงานวิจัย
ติดต่อเรา

สีน้ำสำหรับการวาดภาพ

สี (Color)
     สายตาของเรามองเห็นสีได้นับเป็นพันสี   ซึ่งทั้งหมดของสีเหล่านี้ เกิดจาก การผสมด้วยกันของ 3 สีขั้นต้น  คือ  แดง, เหลือง และน้ำเงิน   ที่สำคัญ คือ สีทั้งสามนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมกันระหว่างสีอื่นๆ  จึงเรียกว่า
เป็นแม่สี ( Primaries)  ทั้งหมดนี้มีความอ่อนไหวทางคุณสมบัติของสี  อย่างเช่น  Alizarin crimson,Gamboge,  French  ultramarine และ  Cadmium red, Cadmium lemon  และ Phthalo blue  สีเหล่านี้สามารถใช้เป็นต้นแบบแม่สี  หรือเป็นเงื่อนไขหลักสำหรับการปฏิบัติงาน สีน้ำได้

แม่สีทั้ง 2 ชุด (The three Primary colors) เรียงเป็นคู่ได้ตามนี้
1.– Alizarin Crimson
– Cadmium Red
2.– French Ultramarine
– Phthalo Blue
3.– Cadmium Lemon
– New Gamboge
       สีขั้นต้น ( Primaries) ทั้ง 2 ชุดนี้  เมื่อนำแต่ละสีมาผสมคู่กัน ในปริมาณที่เท่าๆกัน  จะทำให้ เกิดเป็นสีที่เรียกว่า   สีขั้นที่สอง (secondary  color)  คือ ส้ม, ม่วง และเขียว สีขั้นที่สองที่เกิดขึ้นนี้ จะอยู่ในตำแหน่งของวงล้อสี ระหว่างสีขั้นต้น (แม่สี) ที่ใช้ผสมกันขึ้นมา และเกิดเป็นสีคู่ตรงข้ามของ แม่สี (Complementary colors)

      สีขั้นที่สองแต่ละสี เมื่อผสมกับสี ขั้นต้น (แม่สี) ในปริมาณที่เท่าๆกัน ก็จะเกิดเป็นสีขั้นที่สามขึ้น (TertiaryColor)เช่น เกิดเป็นสีเขียวแอปเปิ้ล หรือ น้ำเงิน- เขียว, สีขั้นที่สามที่เกิดขึ้นสามารถ จะผสมกับสีขั้นที่สอง  และสามารถผสมกับสีขั้นต้นได้ เกิดเป็นอีกสีใกล้เคียงที่เป็นไปตามสัดส่วน ของการผสม

 

ภาพที่ 1 – วงล้อ 3 สีขั้นต้นที่วางระยะห่างเท่ากัน คือ แดง, เหลือง และน้ำเงิน   (ภาพประกอบใช้สีPermanent   Kamin, Cadmium  Yellow light    และ  Ultramarine deep)

ภาพที่ 2 - วงล้อ 6 สี แสดงให้เห็นการเกิดขึ้นของสีขั้นที่ 2 คือ เขียว, ม่วง และส้มที่อยู่  ระหว่าง สีขั้นต้น และโดยการผสมกัน ของ สีขั้นต้นที่อยู่เคียงกันในสัดส่วนเท่าๆกันและเกิดเป็นสีคู่ตรงข้าม ที่ตัดกันอย่างแท้จริงด้วย

 

     สีขั้นที่สองแต่ละสีที่อยู่บนตำแหน่งวงล้อสี  จะอยู่ตรงกันข้ามกับสีคู่ตรงข้าม ของมัน (Complementaries Of  Primaries), หรือแต่ละสีของมันจะเป็นสี ที่ตัดกัน อย่างแท้จริง (รุนแรง)   สีคู่ตรงข้ามเหล่านี้ เมื่อถูกวางอยู่เคียงข้างกันจะให้ ความรู้สึกตอบสนองใกล้เคียงกันทางสายตา   และสีตรงข้ามกันจะให้ความรู้สึก เร้าใจ   แต่เมื่อสีคู่ตรงข้ามเหล่านี้นำมาผสมกัน ในปริมาณที่เท่าๆกัน จะเกิดเป็นสีขุ่น (muted), หรือเป็นสีกลาง (neutrals) และขึ้นอยู่กับปริมาณของสัดส่วนที่ผสมกัน  เช่นถ้าผสมกับสีตรงข้ามเพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นการลดค่าของสีเดิมลง คือลดความสด, ความจัดของสีลงเล็กน้อย แต่ยังคงมีสีเดิมของตัวเองเป็นหลักอยู่  และหากผสมกัน ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ก็จะเกิดเป็นสีกลาง คือไม่แสดงตัวออกมาว่าเป็นสีใดชัดเจน  ซึ่งได้แสดงให้เห็นในวงล้อสี(ภาพประกอบที่ 3)

         Complementary  colors ที่เรียกว่า สีคู่ตรงข้ามในที่นี้  หากเทียบเคียง กับตำรา “ทฤษฎีของสี” ที่ศาสตราจารย์ซี. เฟโรจี (ศิลป์  พีระศรี) เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น  แปลโดยท่านเจ้าคุณอนุมานราชธน (สำหรับสอนในโรงเรียนวิจิตรศิลป ของกรม ศิลปากร – คำนำ กรมศิลปากร 25 ธ.ค. 2486) จะเรียกว่า “สีคู่ปฏิปักษ์ของแม่สี” (Complementaries of Primaries)  และได้อธิบายถึงต้นเหตุ ตามธรรมชาติ ว่า  แสงแดดนั้นประกอบด้วยรัศมีเป็นสีต่างๆ  เมื่อควบกันเข้า (โดยการหมุน) ก็จะ เกิดเป็นสีขาวแท้  สีหลักของรัศมีเหล่านี้คือ  แดงชาด  สีส้ม  สีเหลือง  สีเขียว  สีคราม  และสีม่วงคราม (เป็นฉัพพรรณรังสี  คือ สีหกประการ)

        เมื่อพิเคราะห์สีทั้ง 6 นี้  จะสังเกตว่าเป็นแม่สี 3 สี  และอีก 3 สีประกอบขึ้นด้วย การผสมของแม่สี  และเรียกว่าสีคู่ปฏิปักษ์  คือ
สีส้ม                        ประกอบด้วย สีแดง  กับ  สีเหลือง
สีเขียว                     ประกอบด้วย  สีคราม กับ  สีเหลือง
สีม่วงคราม              ประกอบด้วย  สีคราม  กับ  สีแดง

 

       แต่ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการแปล เรียบเรียงเรื่อง “หลักการใช้สี” ขึ้นมาใหม่ จาก ต้นฉบับเดิม โดยอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ  ที่เขียนเพื่อเป็นหลักสูตรของโรงเรียน ศิลปศึกษา(ชื่อเดิมของวิทยาลัยช่างศิลป)  จะไม่เรียกว่า “สีคู่ปฏิปักษ์”แต่จะใช้คำว่า “สีคู่” แทน เกี่ยวกับเรื่องของสีขั้นต้นนี้ จะมีการเลือกใช้ที่แตกต่างกันไป ตามแต่ หลักทฤษฎีที่เคยเรียนกันมา และต่อมาเป็นเรื่องของความเห็น ชอบเฉพาะตัว ที่เกิดจากการใช้สีเหล่านี้ทำงาน  ผู้ผลิตสีน้ำคุณภาพสำหรับศิลปินของSchmincke ได้แนะนำ 3 สีขั้นต้น ซึ่งก็คือแม่สี  ไว้ 2 ชุดเช่นกัน (จาก Standard  boxes  Basic  Composition of 12 colors box) ดังนี้   (ตามภาพประกอบภาพที่ 4)
ตำแหน่งของสีในวงจรสีนี้  เป็น 3 สีพื้นฐาน คือ เหลือง, แดง และน้ำเงิน  มีทั้งที่เป็นสี ในโทนเย็น และในโทนร้อน (หรืออุ่น) ดังนี้
1. – Lemon yellow      (สีเย็น)
- Cadmium Yellow Light (สีอุ่น)
2. – Cadmium Red Light         (สีอุ่น)   
- Permanent Carmine          (สีเย็น)              
3. – Ultramarine Finest      (สีอุ่น)             - Prussian Blue           (สีเย็น)
ในอดีตจะเรียกสีขั้นต้นนี้ว่า  แม่สีวัตถุธาตุ (Pigmentary Primaries) ทั้ง 3 สีนี้เรียกว่าสีคราม คือน้ำเงินแก่,สีแดง คือแดงชาด และสีเหลือง คือรงทอง

       อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาถึงการใช้สีขั้นต้นจะเห็นได้ว่า มีความแตกต่าง กัน อยู่ระหว่างในอดีตและปัจจุบัน  คือการใช้สีพื้นฐานขั้นต้นเป็นแม่สี   ใน ปัจจุบันนี้มีเกณฑ์การเลือกใช้ที่ผ่อนคลายขึ้นตามความพอใจ ทั้งจากการศึกษา ทดลอง และความเหมาะสมกับเนื้อหาเรื่องราวที่จะเขียน  โดยจัดวางแม่สี พื้นฐานไว้ให้พิจารณาถึง 2 ชุด  และเป็นสีที่ถูกคิดค้นมาสำเร็จรูปแล้ว (ตามรายชื่อที่ได้เห็นแล้ว)

       ดังนั้น การจะเลือกใช้สีพื้นฐานอะไรเป็นแม่สีก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่าสนใจหรือ ทดลองศึกษาดูแล้วพอใจแบบใด  หรือขึ้นอยู่กับอารมณ์ของภาพ และอารมณ์ ของผู้วาดว่าต้องการให้ภาพเป็นเช่นไร  จนกระทั่งถึงข้อจำกัดว่า มีสีคุณภาพใด ให้เลือกใช้หรือปรับใช้ให้พอเหมาะแก่การทำงาน โดยใช้สีพื้นฐานขั้นต้นที่ได้ ศึกษาแล้วเหล่านี้เป็นแนวทาง

 

ภาพที่ 3 – วงล้อ 12 สี แสดงให้เห็นสีพื้นฐานขั้นต้น (3สี ) สีขั้นที่สอง (3สี) และสีขั้นที่สาม (6สี)  โดยสีขั้นที่ 3 เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้นและขั้นที่ 2 (ที่อยู่ใกล้เคียงกัน) ในปริมาณที่เท่าๆกัน ส่วนวงสีชั้นในเกิดจากการผสมกันของสีคู่ตรงข้ามและจะเป็นไปตามสัดส่วน

 

ภาพที่ 4  - สีพื้นฐานขั้นต้น 3 คู่ แต่ละคู่จะมีทั้งโทนเย็น และโทนอุ่น สามารถ
                              ใช้ เป็นชุดแม่สีในการวาดภาพสีน้ำได้

 

 

แปลและเรียบเรียงโดย   เสวก  จิรสุทธิสาร


เอกสารประกอบการเขียน

  1. Joe  Francis  Dowden. Painting  Waterscapes, Barron’s  Educational  Series, Inc. NY 2003 p.8
  2. Schmincke  HORADAM  AQUARELL. P.12
  3. ซี. เฟโรจี  ศาสตราจารย์.  ทฤษฎีของสี,  กรมศิลปากร. พ.ศ. 2486. น.1

-ภาพประกอบโดย  เสวก  จิรสุทธิสาร


บทความศิลปะ โดย เสวก จิรสุทธิสาร
  1. บุญชัย เรียนศิลปะ
  2. วินสตัน เชอร์ชิล:ชีวิตในฐานะจิตรกร
  3. พระอัจฉริยภาพทางศิลปะของมกุฎราชกุมารอังกฤษ
  4. อาจารย์เฟื้อเรียนศิลปะ
  5. เฟื้อ หริพิทักษ์ จิตรกรอิมเพรสชั่นนิสม์คนแรกของเมืองไทย ?
  6. ไม่มี“สีดำ”ในงานอิมเพรสชั่นนิสม์ไทย ?
  7. วาดอะไรก็ได้ ใครๆ ก็ชอบ
  8. เทคนิคจิตรกรรม
  9. ก่อนคุณจะเริ่มต้นวาดรูปสีน้ำ
  10. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนสเปน
  11. อคาเดมิก อาร์ต และปิกาสโซ
  12. สีน้ำสำหรับการวาดภาพ
  13. มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  เชียงใหม่ สวนเบลเยี่ยม
  14. สัดส่วนความงามของคนในงานศิลปะ
 

วิทยาลัยช่างศิลป หมายเลขโทรศัพท์ 0 2326 4002 - 4 โทรสาร 0 2326 4013
E-Mail :