Mainmenu  
 
   
กิจกรรม
งานวิจัยและบทความ
ภาพกิจกรรม
โครงการฝึกอบรม
ค้นข้อมูลรางวัล จำนวนนักศึกษา โครงการ/กิจกรรม
รายชื่อนักศึกษาที่สำเร็จ
การศึกษา
แบบประเมิณความพึงพอใจของ
ผู้สำเร็จการศึกษา
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซท์
แสงสว่างในห้องแสดงศิลปกรรมของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ
 
 

บุญพาด ฆังคะมะโน 
รองคณะบดีฝ่ายวิชาการ
คณะศิลปวิจิตร  สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

           พิพิธภัณฑ์ศิลปะเป็นสถานที่รวบรวมและแสดงศิลปกรรมอันทรงคุณค่าของทุกอารยประเทศ 
  ที่มีความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปกรรมให้คงสภาพเดิมอย่างยาวนาน  และการเผยแพร่คุณค่าแห่ง
  ศิลปกรรมให้สาธารณชนได้ชื่นชม  เรียนรู้  ทั้งร่องรอยศิลปวัฒนธรรมในอดีตและศิลปกรรมที่ศิลปิน
  สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงเวลาร่วมสมัย
          ห้องแสดงศิลปกรรมจำเป็นต้องได้รับการออกแบบและมีระบบการบริการที่ตอบสนองทั้งด้าน
  การอนุรักษ์  และการเผยแพร่รูปแบบของห้องแสดงสัมพันธ์กับรูปแบบในการจัดระบบแสงที่ทำให้
  แสงสว่างมีความเหมาะสม  ไม่ทำให้ศิลปกรรมเสื่อมสภาพเสียหาย  และไม่รบกวนสายตาในการชม
  ศิลปกรรมที่จัดแสดงในห้องนั้นๆ
          พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre) ในฝรั่งเศส  บริติสมิวเซียม
  (British Museum) ในอังกฤษ  หรือ Uffizi Gallery ในอิตาลี ฯลฯ  ล้วนให้ความสำคัญกับระบบแสง
  ระดับแสงสว่าง  และการออกแบบรูปแบบการให้แสงสว่างในห้องแสดงศิลปกรรมเป็นอย่างมาก
          การออกแบบรูปแบบการให้แสงสว่างมีความพิถีพิถันสูงมาก ไม่มีหลอดไฟหรือดวงไฟรบกวน
  สายตาผู้ชม สภาพแสงนุ่มนวล ระดับความสว่างเหมาะสมกับการมอง ไม่น้อยจนมองไม่เห็นรายละ
  เอียดหรือไม่มากจนมีส่วนทำให้ศิลปกรรมเสื่อมสภาพเสียหาย  และมักจะไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพผล
  งานจิตรกรรม  เพราะแสงแฟลชอาจมีผลเสียต่อสีในผลงานศิลปกรรมได
้          ความสัมพันธ์ของรูปแบบห้องแสดงศิลปกรรมกับรูปแบบของระบบแสงพอที่จะจำแนกได้เป็น
  5 รูปแบบ  ดังนี้

          รูปแบบที่ 1  รูปแบบของห้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว  ผนังห้องเชื่อมต่อกับเพดานใน
  ลักษณะระนาบโค้งมน  ไม่มีมุม  เพดานใช้กระจกพรางแสงจากธรรมชาติ  หรือติดหลอดไฟเหนือ
  กระจกพรางแสง (ภาพที่ 1 )  ห้องแสดงในรูปแบบนี้มีที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์  เป็นต้น (ภาพที่ 2 )

ภาพที่ 1
ภาพลายเส้นแสดงลักษณะห้องและระบบแสงรูป
แบบที่ 1

Picture 1 Lined pattern showing
the gallery and the lighting in style 1.


ภาพที่ 2
ห้องแสดงศิลปกรรมในบริติช มิวเซียม


Picture 2 The Gallery in British Museum



The light in the Art Museum’s Gallery

Boonpard   Cangkamano
          Art museum is the place where keeps and exhibits the valuable artworks of each civilized country.  Its importance is to preserve and to maintain the artworks in a good long term condition.Besides these, it is the place where exposes the esthetic value of the artwork so that the public canappreciate and learn the past cultural trail and also presents the artworks which the artist created in the contemporary time.
          The art museum’s gallery needs to be designed and to have the service system that can support both the conservation and its style is presentation by relating to the lighting style providing  the suitable light intensity.  That means, it should not damage the artwork and bother the sight of visitor during the visiting in that gallery.
          The well-known art museums such as “The Louvre” in France, British Museum in United Kingdom or Uffizi Gallery in Italy, highly give the importance to the lighting style and the illumination in the gallery.

          รูปแบบที่ 2 รูปแบบห้องที่ผนังห้องเชื่อมต่อกับเพดานในลักษณะระนาบโค้งแคบ  ติดหลอดไฟ
เหนือกระจำพรางแสงกลางเพดานและตลอดแนวส่วนบนของผนังส่องไฟเข้าหาระนาบโค้งและเพดานให้
แสงสะท้อนกระจกไปทั่วห้อง  (ภาพที่ 3 ) เช่นที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์และบริติส มิวเซียม  เป็นต้น  (ภาพที่4)
          รูปแบบที่ 3 ห้องที่มีลักษณะเพดานแบบโค้งสูง  หรือทรงปิรามิด  แสงสว่างส่องจากส่วนบน
สุดจากหลอดไฟหรือแสงธรรมชาติ  รูปแบบนี้ถ้าห้องกว้างมาก  อาจติดวัสดุพรางแสง  (ภาพที่ 5, 6 )
เช่น พิพิธภัณฑ์ Richard Meier Museum (ภาพที่ 7 )
          รูปแบบที่ 4 ห้องมีลักษณะสี่เหลี่ยมธรรมดา  มีเพดานแบนราบ  ถ้าห้องมีพื้นที่น้อย  จะติดไฟ
ซ่อนหลอดในเพดานเหนือกระจกพรางแสงเล็กน้อยเพื่อให้แสงสว่างเพียงพอ  ถ้าห้องมีขนาดใหญ่จะเพิ่ม
แสงกลางเพดานเพื่อให้กลางห้องสว่างขึ้น (ภาพที่ 8 )  บางแห่งติดหลอดไฟซ่อนในผนังเจาะช่องติด
วัสดุสะท้อนแสง (ภาพที่ 9 ) เช่น พิพิธภัณฑ์ Tate Gallery (now the Tate Britain) ในอังกฤษ  และที่ปอมปิดู (Centre Georges Pompidou) ในฝรั่งเศส (ภาพที่ 10 )


ภาพที่ 3
ภาพลายเส้นแสดงลักษณะห้องและระบบแสงรูป
แบบที่ 2

Picture 3 Lined pattern showing
the gallery and the lighting in style 2.

ภาพที่ 4

ห้องแสดงศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์


Picture 4 The Gallery in The Loure
Museum

ภาพที่ 5-6
ภาพลายเส้นแสดงลักษณะห้องและระบบแสงรูป
แบบที่ 3

Picture 5-6 Lined pattern showing
the gallery and the lighting in style 3.
ภาพที่ 7
ห้องแสดงศิลปกรรมในพิพิธภัณฑ์Richard Meier Museum

Picture 7 The Gallery in The Richard Meier Museum
ภาพที่ 8-9
ภาพลายเส้นแสดงลักษณะห้องและระบบแสงรูป
แบบที่ 4

Picture 8-9 Lined pattern showing
the gallery and the lighting in style 4.
ภาพที่ 10
ห้องแสดงศิลปกรรมในปอมปิดู


Picture 10 The Centre Georges Pompidou in Paris

         The lighting style is very elaborately designed.  There is not any light bulb or anycharacteristic light bothering the sight.  The light is soft.  Its intensity is appropriate to the sight ; not so dim that cannot see the detail of the work or not so bright that can damage the work.  Photography is usually forbidden because the flash can effect on the color of the artworks.
         The relativity between the gallery’s style and the lighting style can be classified in 5 styles
         Style 1   The room is  narrowly rectangular.  The wall and the ceiling are cemented in the curved plane and no angle.  The ceiling is the dimmed – nature light glass or set the light bulbs above the dimmed – light glass (Picture 1) for example, the gallery in The Louvre Museum (Picture 2).
         Style 2  It is the gallery whose the wall and the ceiling are cemented in the narrow curved plane.  In there, it sets the light bulb above the dimmed – light glass at the middle of the ceiling.  Along the top of the wall, there is the light shining to the curved plane and the ceilings for spreading the light reflect throughout the gallery (Picture 3 ) like in The Louvre Museum and British Museum.
         Style 3  The ceiling of  the gallery in this style is high and curved or like the pyramid from.  The light of the light bulb or the nature light shines from the top of ceiling.  For this gallery’s style, if the gallery is so wide, it can set the dimmed – light object for softening the light (Picture 5, 6 ) such as The Richard Meier Museum (Picture 7 )
         Style 4  The gallery in this style is ordinarily square.  The ceiling is plain.  If it has not much space, it will set some light bulbs hided above the dimmed – light glass on the ceiling to give enough brightness.  If the gallery is big, the light at the middle of the ceiling will be increased to make the middle of the room more luminous (Picture 8 ).  Some galleries hide the light bulb in light – reflecting hole (Picture 9 ) like at The Tate Gallery (now The Tate Britain) in London and at The Centre Georges Pompidou in Paris. (Picture 10 )
         Style 5  It is the long gallery like the balcony.  There is the nature light shining from one side but another side is opaque.  The dimmed – light object and the light bulb would be set at the top of the wall and reflect from the ceiling (Picture 11 ) like The Uffizi Gallery (Picture 12 ).
         All of the lighting styles presentd above are just the example that often seen.  There might be other styles depending on the ability and designing concept.  Anyways, it would follow the same rules.  That is the light intensity is suitable for viewing the artworks and does not damage the artworks in the gallery.

ภาพที่ 11
ภาพลายเส้นแสดงลักษณะห้องและระบบแสงรูป
แบบที่ 5

Picture 11 Lined pattern showing
the gallery and the lighting in style 5.
ภาพที่ 11
The Uffizi   Gallery


Picture 11The Uffizi   Gallery

         
         รูปแบบที่ 5  ห้องยาวคล้ายระเบียง  มีแสงธรรมชาติส่องด้านหนึ่งอีกด้านหนึ่งเป็นผนังทึบ  จะติดวัสดุพรางแสงธรรมชาติ  และติดหลอดไฟส่วนบนของผนังส่องสะท้อนจากเพดาน (ภาพที่ 11) เช่นที่ Uffizi Gallery (ภาพที่ 12 )  
         รูปแบบที่แสดงให้เห็นนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่พบเห็นบ่อยๆ อาจมีรูปแบบอื่นๆตามความสามารถ ในการออกแบบทั้งนี้อยู่ในหลักการเดียวกันคือ แสงที่เหมาะแก่การชมผลงานศิลปกรรมและไม่ทำลาย  ศิลปกรรมที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องนิทรรศการ

References
Michael J. Crosbie.  Museums and Art Galleries.  Mulgrave : The images publishing Group Pty Ltd., Australia, 2003.
Ron Broadhurst.  Richard Meier Museums.  New York Rizzoli International Publications, Inc., 2006.
Victoria Newhouse.  Art and the Power of Placement.  New York : the Monaceli Press, Inc., 2005.