Mainmenu  
 
   
กิจกรรม
งานวิจัยและบทความ
ภาพกิจกรรม
โครงการฝึกอบรม
ค้นข้อมูลรางวัล จำนวนนักศึกษา โครงการ/กิจกรรม
รายชื่อนักศึกษาที่สำเร็จ
การศึกษา
แบบประเมิณความพึงพอใจของ
ผู้สำเร็จการศึกษา
ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซท์
  ป้าย...การเมืองภาคประชาชน
 
 

สุมาลี  เอกชนนิยม
อาจารย์ประจำสาขาภาพพิมพ์
คณะศิลปวิจิตร  สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป

โปสเตอร์รำลึกวีรชน 14 ตุลาคม (1)

           ป้ายโปสเตอร์และการเมือง
   ศิลปะเป็นเครื่องมือแสดงออกของมนุษย์โดยแท้ไม่ว่าจะเป็นวรรณศิลป์ คีตศิลป์ หรือทัศนศิลป
มนุษย์เลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อแสดงความคิดของตนในสถานการณ์แวดล้อมหนึ่งๆเมื่อการเวลา
ผ่านพ้นไป ผลงานเหล่านี้จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนบริบททางสังคม ณ เวลานั้น
ได้เป็นอย่างดี นอกจากสะท้อนเนื้อหาทางประวัติศาสตร์แล้วยังสะท้อนพัฒนาการและรูปแบบของ
ศิลปะที่ใช้เป็นเครื่องมือนั้นด้วย ดังเช่น ภาพโปสเตอร์การเมือง ป้ายคัทเอาท์บนเวทีที่มีกิจกรรม
ทางการเมืองทั้งหลายเป็นต้น
   ในอดีต การทำสิ่งพิมพ์ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์เช่นในปัจจุบัน การทำป้ายโฆษณา
ต่างๆต้องอาศัยฝีมือคนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะป้ายหรือโปสเตอร์ที่เสนอการต่อสู้เรียกร้องทางการ
เมือง ผู้ผลิตส่วนใหญ่คือปัญญาชนนิสิตนักศึกษาที่มีแนวคิดทางการเมืองต่างจากรัฐบาลและเป็น
ผู้มีความรู้หรือรักงานศิลปะ โปสเตอร์ ป้ายต่างๆรวมทั้งคัทเอาท์ที่ใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อการ
เรียกร้องการต่อสู้จึงมีแบบฉบับเฉพาะตน
           ป้ายโปสเตอร์ยุคศิลปะเพื่อชีวิตหลัง 14 ตุลาคม
   โดยทั่วไปเราใช้โปสเตอร์เพื่อเผยแพร่สิ่งที่ต้องการ โดยทำให้ผู้พบเห็นสะดุดตา เข้าใจเรื่องที่่
สื่อสารได้ทันที โปสเตอร์จึงต้องปลุกเร้าความสนใจ โดยภาพต้องเล่าเรื่องราวได้ข้อความที่ต้องการ
สื่อสารต้องสั้น กระชับ โดดเด่น  เน้นเฉพาะเรื่องที่ต้องการ เพื่อให้ผู้พบเห็นเกิดการรับรู้เข้าใจโดยเร็ว
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ  จะต้องประสานกลมกลืนกันตามลักษณะของศิลปะประยุกต์  (applied art)
การต่อสู้ทางการเมืองของขบวนการนิสิตนักศึกษาและประชาชน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม2516
ได้ใช้ป้าย ใบปลิว และโปสเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การต่อสู้ไปยัง
ประชาชนรูปแบบงานศิลปะที่ใช้ในการทำโปสเตอร์แผ่นป้ายหรือภาพที่ใช้ประกอบสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
ต่างๆในเวลานั้นมีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดทางการเมืองแบบมาร์กซิสม์ จุดหลักใหญ่คือ  “ศิลปะ
เพื่อชีวิต”กลุ่มคนทำงานศิลปะและนักศึกษาศิลปะที่ทำงานการเมืองหลายคนสนใจศึกษาและถกเถียง
เกี่ยวกับปรัชญาการเมืองแนวคิดศิลปะเพื่อมวลชน หนังสือศิลปะคืออะไร (what is art ) ของลีโอ
ตอลสตอยและหนังสืออื่นๆอีกหลายๆเล่ม ที่มีเนื้อหาชวนตรวจสอบบทบาทและหน้าที่ของศิลปะ กระตุ้นให้นักคิดนักเขียนตั้งคำถามต่อการทำงานศิลปะว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร เพื่อใคร คำถามเหล่า
นี้มอิทธิพลและสร้างแรงกระเพื่อมต่อวงการศิลปะพอสมควรจนเกิดวิวาทะและการโต้แย้งกันอย่าง
กว้างขวางการปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหารที่มีการคอรับชั่นมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพและปราบ
ปรามเข่นฆ่าประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญญาชนต้องเป็นหัวขบวนในการลุกขึ้นต่อสู้แนวคิด 
ทางการเมืองจากหนังสือแนวสังคมนิยมเช่น สรรนิพนธ์เมาเซตุงลัทธิวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์
วิวัฒนาการลัทธิมาร์กซิสม์ รวมทั้งงานของนักคิดนักเขียนเพื่อชีวิตจากจีน อินเดีย สหภาพโซเวียต 
ที่แพร่หลายไปในกลุ่มนักกิจกรรมก่อให้เกิดแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงสังคมตามรูปแบบการเมืองใหม่
ที่เป็นทางเลือกในเวลานั้น แผ่นป้าย โปสเตอร์ ที่เรียกร้อง เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมต่อสู้ รวม
ทั้งสื่อเอกสารที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนจึงมีรูปแบบเช่นเดียวกับศิลปะ Socialrealism ที่รับ
ใช้การปฏิวัติ รับใช้ประชาชน ในจีน และรัสเซีย ซึ่งมีลักษณะเขียนเหมือนจริง มีฝีมือสูง ท่าทางของ
บุคคลในภาพมีลักษณะกึ่งท่าละคร เช่น มีท่าชูกำปั้น มือชี้ไปด้านหน้า ปลุกให้ฮึกเหิมหรือเป็นภาพ ผู้นำคนสำคัญ  โน้มน้าวให้เชื่อหรือคิดตาม โดยนิยมใช้หลักการจัดวางองค์ประกอบแบบอะคาเดมิค
จุดเด่นของภาพจะมีขนาดใหญ่ ชัดเจนมีส่วนประกอบย่อยที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่นำเสนอ ส่วน
ประกอบย่อยมีขนาดเล็ก นิยมใช้สีโทนร้อนสำคัญของการรณรงค์หรืการเรียกร้องครั้งนั้นๆมาประกอบ
โดยใช้ข้อความที่ สั้น ง่าย และชัดเจน

โปสเตอร์รัสเซีย (2)
โปสเตอร์คิวบา(3)
โปสเตอร์จีน(4)
โปสเตอร์เวียดนาม(5)
     
          และมีคำศัพท์เฉพาะที่สะท้อนอุดมคติเกี่ยวกับสังคมนิยม เช่น ทุนนิยม จักรวรรดินิยม มวลชน นายทุนขุนศึก ศักดินากฎุมพี ชนชั้นกรรมาชีพเป็นต้น ส่วนเนื้อหาของงานมุ่งสะท้อน กระตุ้นและชักชวนให้คนในสังคมเข้าร่วมรณ ้รงค์ต่อสู้ทางการเมืองในแต่ละโอกาส เช่นการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น การขับไล่
่ฐานทัพอเมริกา การเรียกร้องให้รัฐบาล รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของผู้นำ
ชาวนา ผู้นำกรรมกรและนักศึกษาที่ถูกลอบสังหาร  
ด้านรูปแบบ งานโปสเตอร์ในยุคนั้น ได้รับอิทธิพลจากงานภาพพิมพ์
แกะไม้ของศิลปินเยอรมันกลุ่ม  Brucker  ซึ่งรูปแบบของงานมลักษณะเน้น
การแสดงออกชัดเจน ทางความรู้สึกแบบฉับพลัน ไม่ปรุงแต่งไม่เน้นความละ
เมียดละไม( expressionism )  ศิลปินกลุ่มBruckeมีแนวคิดต่อต้านฮิตเลอร์
์ในยุคที่นาซีรุ่งเรือง จึงถูกปราบปรามศิลปินต้องหลบหนีกระจัดกระจายกันไป  ในสถานภาพที่คล้ายๆกันกับศิลปินไทย คือต่างทำงานเพื่อแสดงออกถึงแนว
คิดต่อต้านเผด็จการ ลักษณะงานแบบเอกเพรสชั่นนิสม์พบได้ในงานของ
Erich Heckel Ernst Ludwig Kirchner   Karl  Schmidt-Rottluff และอื่นๆ ในยุคนั้น นอกจากโปสเตอร์ ใบปลิวและสื่อเอกสาร แล้วป้ายผ้าเสื้อสกรีนภาพ และข้อความต่างๆยังเป็นเครื่องมือรณรงค์อีกส่วนหนึ่ง
          นอกจากนี้วัฒนธรรมของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองทั่วไปนิยมแต่ง
กายแบบเรียบง่ายเช่น สวมกางเกงยีน เสื้อยืด ผมยาว รองเท้าแตะเพื่อสะ
ท้อนความเรียบง่ายและรักเสรีภาพ ส่วนนักกิจกรรมที่ผ่านการศึกษาทฤษฎี
การเมืองอย่างมุ่งมั่น ส่วนหนึ่งจะครองตนโดยยึดถือแนวปฏิบัติของนักปฏิวัติ
อย่างเคร่งครัด เช่นต้องมีวินัย วิพากษ์และแก้ไขตนเองสมำ่เสมอ ไม่เสรีใน
การใช้ชีวิต รับใช้ประชาชน อุทิศตนเพื่อมวลชน ทำให้ภาพลักษณ์ของปัญ
ญาชนนักเคลื่อนไหวในยุคน้นแตกต่างไปจากประชาชนหรือคนในสังคม
ทั่วไป

ภาพพิมพ์แกะไม้
กลุ่มBRUCKER
(6)


 
โปสเตอร์พฤษภาทมิฬ(7)
ป้ายโปสเตอร์ช่วงการต่อสู้พฤษภาทมิฬ
การต่อสู้ทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม 2535เป็น
การต่อสู้ในช่วงสั้นๆแต่ความคิดขอคนในสังคมพัฒนาไป
ในระดับหนึ่งคือไม่ยอมรับเผด็จการทหารตัวละครทาง การเมืองก็ยังไม่เปลี่ยนจากเดิมนักกลุ่มผู้มีอำนาจก็ยัง
คงเป็นทหาร ส่วนกลุ่มประชาชนมีอย่างหลากหลายทั้ง
กลุ่มนักศึกษา คนทำงานรับจ้าง พ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราช
การและส่วนหนึ่งในนั้นคือกลุ่มคนที่เคยผ่านการเคลื่อน
ไหวต่อสู้เมื่อวัยหนุ่มสาวในช่วง14ตุลาคมมาแล้วแม้สื่อ ที่ใช้ในการรณรงคต่อสู้และเผยแพร่ความคิดในการต่อสู้
ในครั้งนั้นจะใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเช่นโทรสาร โทร
ศัพท์มือถือ แต่ก็ยังใช้เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโปสเตอร์
และเสื้อสกรีนข้อความ เข็มกลัด รูปแบบโปสเตอร์บาง
ส่วนยังรักษาลักษณะที่เป็นเทคนิคที่เป็นภาพพิมพ์แกะไม้

     ป้ายโปสเตอร์ยุคแบ่งขั้วการเมือง
   กล่าวได้ว่าศิลปะในยุคปัจจุบันเป็นศิลปะที่ก้าวสู่ยุคศิลปะหลังสมัยใหม่ (postmodernism)ซึ่งไร้
รูปแบบ ความไร้รูปแบบคือรูปแบบของศิลปะหลังสมัยใหม่จนวันนี้เราพูดกันถึงช่วงเวลาที่สังคมหัน
กลับมาหาความงามพื้นฐาน หาสิ่งสามัญเน้นและให้คุณค่าทางด้านความรู้สึกมากขึ้น(conceptual
age) คือศิลปะเปิดกว้างไม่แบ่งระดับ แบ่งชั้น ลักษณะของงาน เครื่องมือวัสดุที่ใช้ก็หลากหลายหลัก
พื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลปะที่เป็นของเดิมยังคงอยู่แต่แนวคิดและวิธีสร้างงานเปลี่ยนแปลงไป
มาก ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว เช่นเดียวกับแนวคิดเรื่องความงามการต่อสู้ในสังคมไม่ใช่การต่อสู้ของผู้
ถูกกดขี่กับผู้กดขี่อย่างเต็มรูปแบบและไม่ใช่การต่อสู้ของผู้ถูกมีอำนาจปกครองกับผู้อยู่ใต้อำนาจเสีย
ทีเดียวแต่เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้มีทรรศนะในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ต่างกันและต่างฝ่ายต่างชูตัว
แทนของการต่อสู้ขึ้นมา ความคิดของประชาชนจึงแตกเป็น2 ฝ่ายใหญๆ่กลุ่มคนที่เคยร่วมต่อสู้กันมา
ในเหตุการณ์เดือนตุลาและเดือนพฤษภาทั้งในส่วนของนักการเมืองและประชาชนแตกเป็นสองขั้ว
ความคิด
   การต่อสู้็ของหัวขบวนแสดงเป็นรูปธรรมออกมาโดยฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีเป้า
หมายการต่อสู้อยู่ที่การล้มล้างระบอบทักษิณส่วนอีกฝ่ายหนึ่งได้แก่รัฐบาล โดยมีแนวร่วม น.ป.ก
เป็นแกนนำมีเป้าหมายเพื่อพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ทั้งสองฝ่าย
ต่างมีประชาชนและปัญญาชนทุกระดับชั้นเข้าร่วมแต่อาจต่างสัดส่วนกัน อย่างไรก็ตามความขัดแย้ง
ครั้งนี้นับเป็นความขัดแย้งทางความคิดในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ลึกซึ้งและรุนแรงการต่อสู้จึงยืดเยื้อ
และยาวนานแม้จะไม่เท่ากับเวลาในการต่อสุ้เคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาหลัง 14ตุลาคมก็ตาม

ป้ายหลังเวที น.ป.ช (8)


ป้ายหลังเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
(9)


   

ทั้งสองฝ่ายใช้สื่อทุกชนิดและเป็นสื่อที่ทันสมัยในยุคเช่น อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ สื่อมัลติมีเดีย
แต่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายยังต้องใช้อยู่เหมือนเดิมคือ โปสเตอร์ ป้ายผ้า แผ่นป้าย อุปกรณ์อื่นๆเช่นข้อความ
สกรีนบนเสื้อ สัญญลักษณ์การต่อสู้ต่างๆเช่นสีแดงกับสีเหลือง ผ้าแถบคาดศรีษะ ผ้าพันแขน มือตบ สายรัดข้อมือ วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆที่นำมาตบแต่งบนร่างกายเป็นสัญญลักษณ์การต่อสู้สอดคล้องไป
กับยุคสมัยเพราะแนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกายในยุคนี้ไม่ตายตัวเป็นอิสระตามความชอบและเป็นไปตาม
รสนิยมเฉพาะบุคคล
   รูปแบบของโปสเตอร์ของทั้งสองกลุ่มมีลักษณะเดียวกันกับโปสเตอร์ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวช่วง 14
ตุลาคม แต่บางส่วนปรับเปลี่ยนไป เช่น แสดงภาพการ์ืตูน ทั้งนี้อาจมาจากหลายสาเหตุคือ หนังสือนิ
ทานภาพหรือวรรณกรรมหลายๆเรื่อง ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ได้นำเสนอเรื่องราวด้วยลักษณะของการ์ตูน
เยาวชนไทยคุ้นเคยกับการ์ตูนญี่ปุ่นและการ์ตูนต่างชาติมากยิ่งขึ้น ศิลปินร่วมสมัยบางส่วนสร้างงาน
ศิลปะด้วยรูปลักษณ์การ์ตูน ก็เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จากการผสมผสานการ์ตูนเงียบ การ์ตูนภาพเคลื่อน
ไหวและการยอมรับในหลายๆด้าน มีผลให้ผู้ออกแบบนำลักษณะของการ์ตูนมาใช้ในงานป้ายโปสเตอร์
ที่น่าสังเกตุคือ รูปแบบป้ายที่มีลักษณะภาพพิมพ์แกะไม้ ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ออกแบบป้ายซึ่งเห็นได้
จากหลายๆงานของนักต่อสู้เพื่อชุมชน แม้แต่การเขียนหรือระบายสี ผู้เขียนป้ายนั้นยังเขียนด้วยสีแต่ให้
ดูมีลักษณะคล้ายเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ซึ่งทำให้ความงามของป้ายนั้นลดลงไป
   ปรากฏการนี้ น่าคิดได้หลายอย่างคือ อาจเป็นเพราะผู้ออกแบบชื่นชอบลักษณะของงานภาพพิมพ์
แกะ ไม้แต่ขาดวัสดุในการทำแม่พิมพ์จึงทดแทนด้วยการใช้พู่กันระบายลากเส้นให้เหมือนเป็นกระบวน การพิมพ์ภาพก็ได้หรือในอีกด้านหนึ่งการคงลักษณะภาพพิมพ์แกะไม้ที่มักจะพบบ่อยเมื่อมีการต่อสู้ทาง
การเมือง เป็นเทคนิคเฉพาะตัว ของศิลปินที่ทำงานทางการเมือง เห็นซ้ำๆเพราะเกิดจากศิลปินกลุ่ม
เดียวกันทำ ทำซ้ำๆจนเป็นเหมือนขนบไป ไม่มีรูปแบบใหม่ เพราะไม่มีศิลปินกลุ่มอื่น หรือมีกลุ่มศิลปิน
น้อยลง ที่สนใจการทำงานศิลปะเพื่อสังคม ในส่วนเนื้อหาของป้าย มีบทสนทนาโต้ตอบ บางครั้งมีข้อ
ความที่ให้รายละเอียดมากขึ้น ข้อความที่ใช้ในป้ายหรือโปสเตอร์มักเป็นข้อความที่สะท้อนอารมณ์มาก
กว่าแนวคิด ใช้คำรุนแรงในลักษณะผรุสวาท ไม่สุภาพแตกต่างจากการต่อสู้หลัง 14 ตุลา ที่มุ่งนำเสนอ
ความคิด อุดมการณ์ของตน
          ความงามของโปสเตอร์การเมือง
   ความงามของโปสเตอร์อยู่ที่ความสามารถในการออกแบบให้รูปแบบและเนื้อหาของโปสเตอร์มีความ
โดดเด่น สามารถกระตุ้นเร่งเร้าให้ผ็พบเห็นเกิดความสนใจ และสามารถสื่อสารสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัด
เจน ภาพโปสเตอร์จึงเป็นศิลปะประยุกต์ที่มีคุณค่า เพราะนอกจากจะแสดงความงามในเรื่องของการ
ออกแบบแล้วยังเป็นหลักฐานบันทึกประวัติศาสตร์อีกด้วย โดยเฉพาะโปสเตอร์การต่อสู้เรียกร้องทาง
การเมือง เพราะโปสเตอร์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสถานการณ์ปกติทั่วไป แตกต่างจากโปสเตอร์โฆษณา
สินค้า โปสเตอร์หาเสียง โปสเตอร์รณรงค์ในโอกาสต่างๆซึ่งเป็นไปตามวาระ แต่โปสเตอร์การต่อสู้เรียก
ร้องทางการเมืองจะเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์ทางการเมืองมีความขัดแย้งสูง และความขัดแย้งส่งผลสะท้อน
ในวงกว้างดังนั้นหากเครื่องมือนี้มีทั้งสาระและความงามก็ย่อมจะเพิ่มคุณค่าให้กับตัวงาน
   อย่างไรก็ตาม  โปสเตอร์ประเภทนี้เป็นงานเร่งด่วนที่ต้องใช้ศิลปะ โดยเฉพาะในการต่อสู้เรียกร้องที่
ยืดเยื้อและมีสถานการณ์พลิกผันอยู่เสมอ  ผู้ออกแบบโปสเตอร์จึงต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์
รวมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับการเมืองในช่วงนั้นๆเป็นอย่างดี  จึงจะสามารถคิดเนื้อหาและสร้างรูปแบบที่คม
คายได้  
   แม้ว่าหลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไป เราอาจเห็นโปสเตอร์การต่อสู้ทางการเมืองที่งดงามทั้งรูปแบบและ
เนื้อหา รวมทั้งพัฒนาการความคิดทางการเมืองของภาคประชาชนที่ก้าวไปไกลแล้ว แต่เราก็ไม่อยาก
เห็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ของสองขั้วความคิดไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียของคนไทยฝ่ายใด
ก็ตาม   

ป้ายหลังเวที น.ป.ช. (10)
โปสเตอร์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (11)


          ภาพ (1), (7) จาก  www.oknation.net/blog/print.php?id=283923 รวบรวมโดย อะหนึ่ง
          ภาพ (2) จาก www.docspopuli.org
          ภาพ (3) จาก www.defensetech.org
          ภาพ (4) จาก www.creativereview.co.uk
          ภาพ (6) จากหนังสือ Expressionism ของ Dietmar Elger สำนักพิมพ์ Taschen หน้า ....21..
          ภาพ (8),(9),(10) บันทึกภาพโดย วีรวุฒิ นนทเวช     
          ภาพ (11) www.thaifreenews.com  

           ภาคผนวก  งานแนว expressionism