คณะศิลปวิจิตร
คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2541 และประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 เริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) ตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2542 แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากวิทยาลัยช่างศิลป และต่อมาปี 2547 ได้เปิดหลักสูตร ศิลปะบัณฑิต 4 ปี โดยเปิดรับนักศึกษาทั่วไปจากที่ต่างๆ ด้วยวิธีสอบตรง
ในพ.ศ. 2550 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้แยกส่วนราชการออกจากกรมศิลปกร โดยพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2550 ทำให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีสถานะเป็นนิติบุคคลเทียบเท่ากรม ซึ่งคณะศิลปวิจิตรก็ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างตามพระราชบัญญัติการแบ่งส่วนราชการของสถาบัน
วิสัยทัศน์
คณะศิลปวิจิตรจัดการศึกษาด้านศิลปะในระดับอุดมศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองสังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
พันธกิจ
คณะศิลปวิจิตรมีบทบาทหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณลักษณะสมบูรณ์ ทั้งการและใจ พัฒนาการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ให้บริการวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยระบบการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพ
การจัดการศึกษา
คณะศิลปวิจิตรเปิดการเรียนการสอน 3 ภาค วิชา 6 สาขาวิชา ดังนี้
1. ภาควิชาศิลปะไทย
1.1 สาขาวิชาศิลปะไทย
2. ภาควิชาศิลปกรรม
2.1 สาขาวิชาจิตรกรรม
2.2 สาขาวิชาประติมากรรม
2.3 สาขาวิชาภาพพิมพ์
2.4 สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา
3. ภาควิชาออกแบบ
3.1 สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน
ผลการดำเนินงาน
1. โครงการอบรมศิลปะบุคคลทั่วไป
2. โครงการศิลปกรรมนานาชาติแห่งเอเชีย
3. โครงการศิลปกรรมคณะศิลปวิจิตร
4. โครงการนิทรรศการวิชาการและการแสดงนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์และช่างศิลป์ กิจกรรมที่ 2 งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมไทย
5. โครงการศิลปะนิพนธ์
6. โครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
7. โครงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปะ
8. โครงการเผาเตาฝืน 4 สถาบัน
9. โครงการนำนักศึกษาไปปฏิบัติงาน “ประติมากรรมกับสภาพแวดล้อม”
10. โครงการปรับความรู้ความเข้าใจที่เป็นวิชาพื้นฐานของการศึกษาศิลปะ
11. โครงการปฏิบัติงานเขียนภาพทิวทัศน์นอกสถานที่
12. โครงการศิลปะสมัยอยุธยาใน จ.เพชรบุรี จ.ราชบุรี และ จ.สมุทรสงคราม
13. งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ณ บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 3 - 7 ธันวาคม 2552
14. โครงการผลิตสื่อการเรียนการสอนประเภทหุ่นต้นแบบโครงกระดูกอาจารย์ใหญ่ของจริงเพื่อการศึกษา
ข้อมูลติดต่อคณะ
สถานที่ตั้ง : ภายในวิทยาลัยนาฏศิลป เลขที่ 119/10 หมู่ที่ 3 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 02 - 482 - 2186
โทรสาร : 02 - 482 - 2188
เว็บไซต์ : http://ffa.bpi.ac.th