วิทยาลัย - สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย - สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย http://webadmin.bpi.ac.th Thu, 07 Dec 2023 17:50:05 +0700 Joomla! - Open Source Content Management en-gb วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6763-cdask http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6763-cdask
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๒๑ จังหวัดสุโขทัย เสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ให้กรมศิลปากรพิจารณา โดยเฉพาะสถานที่ก่อสร้างจังหวัดสุโขทัย ได้เสนอสถานที่บริเวณเมืองใหม่ ซึ่งเป็นสนามกีฬาเก่า อยู่ระหว่างโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมและโรงพยาบาลสุโขทัย เนื้อที่ประมาณ ๒๗ - ๓๐ ไร่ และกรมศิลปากรขอให้จังหวัดสุโขทัย ปักหลักเขตและให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานที่ดิน เพื่อกรมศิลปากรจะได้ส่งสถาปนิกวางผังและก่อสร้างอาคารเรียนในปีงบประมาณ ๒๕๒๓ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปในส่วนภูมิภาค เพื่อขยายการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติทางนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยอาศัยอำนาจ ตามความในข้อ ๒๓ แห่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๑๕ ประกอบด้วยวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เปิดการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร นาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง ตั้งแต่ปีการศึกษา๒๕๒๒ เป็นต้นมา แรกเริ่มจัดการเรียนการสอนในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้อาศัยอาคารเรียนของวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย และปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ - ๒๕๒๔ อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จนกระทั่งได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ดำเนินการก่อสร้าง เสร็จจึงได้ย้ายมาเรียนที่ปัจจุบัน ต่อมาได้มีการปฏิรูประบบการบริหาร ระบบราชการ ทำให้วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เปลี่ยนสังกัด หลายครั้ง เช่น สังกัดสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ เลขที่ ๔ หมู่ ๕ ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย บนบริเวณพื้นที่ทั้งหมด ๔๑ - ๔๗ ไร่ มีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาเฉพาะ ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ เพื่อความเป็นเลิศ และดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาติ

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Thu, 30 Nov 2017 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6761-2017-11-30-08-39-15 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6761-2017-11-30-08-39-15

ประวัติความเป็นมา     

       วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เป็นสถานศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีทั้งหมด 12 แห่ง จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากหลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นสูง
สถานที่ตั้ง อยู่ในบริเวณศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี เลขที่ 119 หมู่ที่ 1 ถ.สุพรรณบุรี-ชัยนาท ต.สนามชัย อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี 72000

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Thu, 30 Nov 2017 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6760-cdanr http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6760-cdanr

ความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

           กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2535 ในสมัย นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักตามประกาศจัดตั้ง เพื่อต้องการขยายการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ในกรมศิลปากร ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยจัดการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง กรมศิลปากร ได้แต่งตั้งให้ นางเพ็ญทิพย์ จันทุดม รองผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ มาปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 นอกจากหน้าที่ในการจัดการศึกษาแล้ว ยังมีหน้าที่ในการเผยแพร่ ส่งเสริม วิจัย และให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอีกด้วย ในระหว่างการก่อสร้าง วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ได้รับความอนุเคราะห์จาก  ร.ต.สุวิทย์ แก้วเกตุ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา ได้อนุญาตให้ใช้ส านักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นสำนักงานชั่วคราว และในเดือนเมษายน 2535 นายประเสริฐ กาญจนวัฒนา กำนันตำบลโคกกรวด ได้ให้ความอนุเคราะห์ ปรับพื้นที่ดินบริเวณด้านหน้าวิทยาลัยฯ หลังจากนี้จะมีการดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 ในระดับนาฏศิลปชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรินาฏศิลป์ชั้นสูง ต่อมาในปีพุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาหลักสูตร เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ส่วนการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปทุกแห่ง เป็นการจัดการศึกษาส าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ หรือความสามารถพิเศษ ด้านดนตรี และนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงปรับ
หลักสูตรให้สอดคล้องกัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ วิชาชีพพื้นฐาน ในระดับช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)
         ปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 444 หมู่ 10 ถนนมิตรภาพ ตำบลโคกกรวด อ าเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ดิน 63 ไร่ 3 งาน 66 ตารางวา ปัจจุบันนายทูลทองใจ ซึ่งรัมย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลปนครราชสีมา

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Thu, 30 Nov 2017 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6759-2017-11-30-08-27-26 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6759-2017-11-30-08-27-26

 ประวัติและความเป็นมา   

         กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 โดยให้สังกัดกองศิลปศึกษา (ปัจจุบัน กอง ศิลปศึกษา ได้ ปรับ เปลี่ยน ชื่อ เป็น สถาบัน นาฏดุริยางคศิลป์) กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดทำการ สอนนักเรียนตั้งแต่ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นจนถึงระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติระยะ 4-5 ในด้านการศึกษาที่จะต้องพัฒนาและ ขยายการศึกษาด้านนาฏศิลป์และ ดุริยางค์ไทย

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลปกาฬสินธุ์

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Thu, 30 Nov 2017 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลป http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6719-2017-11-29-09-29-10 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/6719-2017-11-29-09-29-10

พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร
ผู้ก่อตั้ง "โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน)

         ประวัติวิทยาลัยวิทยาลัยนาฏศิลปเดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 นับเป็นสถาบันของชาติแห่งแรกที่ให้การศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลปขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร ต่อมาเมื่อ พ.ศ.

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลป

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Wed, 29 Nov 2017 00:00:00 +0700
วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/805-de6-14 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/805-de6-14

ประวัติ ความเป็นมาของวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช
วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 12 ปี  จากจุดกำเนิด เป็นสถาบันการศึกษาต่ำกว่าปริญญา ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มีเนื้อที่ 37 ไร่ สภาพของดินเดิมเป็นสวนยางพาราซึ่งมีรูปร่างยาวลึกเข้าไปจากถนนใหญ่ 650 เมตร พื้นที่ด้านหน้าติดถนนใหญ่ สูงและค่อยๆลาดต่ำลงไปจนสุดปลายที่ของสถานศึกษา

ในปี 2538 – 2539  ได้ก่อสร้างอาคารเรียนรวมจำนวน 12 ห้องเรียน และได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2539 เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนนักศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2540 เป็นปีแรก และในปีการสึกา 2542 ได้เปิดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  

ในปีงบประมาณ 2540 -2545 วิทยาลัยได้ดำเนินการต่อเติมอาคารเรียนเดิมเพิ่มห้องเรียนอีก จำนวน 9 ห้องเรียน และได้ก่อสร้างห้องเรียนต่างๆ ดังนี้ 1.ก่อสร้างอาคารปฏิบัติการภาพพิมพ์  2.ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์-ลานกีฬาเอนกประสงค์ และ 3.อาคารบ้านพักสามหลัง
              ในปีการศึกา 2546 ได้ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประกาสนียบัตรวิชาชีพเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 พุธศักราช 2544 และในปีงบประมาณ 2546 ได้ต่อเติมอาคารภาพพิมพ์เป็นห้องเรียนภาคทฤษฏี และบ้านพักผู้อำนวยการ
               ในปีงบประมาณ 2547 วิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเครื่องเคลือบดินเผาซึ่งมีพื้นที่ 770 ตารางเมตร และในปีงบประมาณ 2548 วิทยาลัยได้ก่อสร้างหอพักนักเรียนและสร้างซุ้มพระพิฆเนศ
               ในปี 2550 วิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารเรียนด้านล่างเป็นห้องประชุม “อภิมหาสมบัติ์”
               ในปี 2551 ปรับปรุงทัศนีย์ภาพ ก่อสร้างป้ายวิทยาลัยใหม่พร้อมป้อมยามและกำแพงรั้ว
                ในปี 2552 ได้ก่อสร้างอาคารประติมากรรม ต่อเติมปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์
ปรัชญา        ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
ปณิธาน        สืบทอดสิลปะมุ่งสร้างสุนทรีย์ใฝ่ความดีงาม
วิสัยทัศน์       มีความเป็นเลิศด้านศิลปกรรม ส่งเสริมคุณธรรมและเผยแพร่ผลงานทางด้านศิลปกรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม
พันธกิจ    1. จัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพ
                 2.ให้บริการทางวิชาการและส่งเสริมการวิจัยหรือสร้างสรรค์
                 3.ส่งเสริม อนุรักษ์  สืบสาน สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
การจัดการเรียนการสอน
                  วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช  ได้เปิดการเรียนการสอน 2 หลักสูตร ดังนี้
1.    หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตร 3 ปี
2.    หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 2 ปี
เปิดสอน 6 สาขาวิชาคือ
6.1   สาขาวิชาจิตรกรรม
6.2   สาขาวิชาประติมากรรม
6.3    สาขาวิชาศิลปะไทย
6.4    สาขาวิชาภาพพิมพ์
6.5     สาขาวิชาออกแบบตกแต่ง
6.6     สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา

สถานที่ตั้งข้อมูลติดต่อ  วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช  ตั้งอยู่ เลขที่ 200 หมู่ที่ 2 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 075-394-355-7 Email:cfans@bpi.ac.th

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Thu, 05 May 2011 22:16:05 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/804-de6-13 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/804-de6-13

ประวัติความเป็นมา

          วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชเป็นองค์กรทางด้านการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์  ได้ดำเนินการขอจัดตั้งครั้งแรกเมื่อ  วันที่  ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๑๘  โดยนายสุรินทร์ มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ขอจัดตั้งวิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  โดยให้ความเห็นว่า  จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากในภาคใต้จังหวัดหนึ่งโดยเฉพาะทางด้านศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ไทย  มีการติดต่อคมนาคมกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกและเป็นจังหวัดที่ยังคงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน  สมควรที่จะรักษาศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืนและควรขยายการศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านดุริยางค์  นาฎศิลปไทยและพื้นเมืองให้แพร่หลายมากขึ้น

          นายแพทย์บุญสม  มาร์ติน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น  ได้ลงนามประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช  เมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๑  โดยนายเดโช  สวนานนท์  อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้อนุมัติให้เปิด  “วิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช”  ในปีการศึกษา  ๒๕๒๑  เปิดทำการสอนวันแรกในวันที่  ๒๒  พฤษภาคม  ๒๕๒๑ ซึ่งต้องอาศัยอาคารเรียนพระปริยัติธรรม และอาคารพิพิธภัณฑ์ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นอาคารเรียนชั่วคราวเนื่องจากอาคารสถานที่ของวิทยาลัยฯ  อยู่ในระหว่างการก่อสร้างจนสามารถเข้าไปทำการเรียนการสอนในสถานที่ปัจจุบัน  ณ  บริเวณวัดโพธิ์  ( ร้าง ) หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าเรือ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่  ๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๓

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 26 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/803-de6-12 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/803-de6-12

  ประวัติความเป็นมา    

      วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่    เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พุทธศักราช 2527 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาทางนาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ให้แพร่หลายทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์ของ
ชาติอีกด้วย 
     ในครั้งนั้นกรมศิลปากรได้แต่งตั้ง นายบุญเลิศ ทองสาลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง เป็นคนแรก โดยใช้อาคารเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง เป็นสำนักงานและห้องเรียนชั่วคราว

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 26 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/801-de6-10 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/801-de6-10

             การจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ในภาคตะวันออกเกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) และจากการที่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี ซึ่งนำโดย นายบุญนาค  สายสว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีในขณะนั้น ได้มีความห่วงใยเยาวชนของจังหวัดจันทบุรี และ  จังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออก ที่อาจหลงใหลไปกับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งจะเป็นอันตราย  ต่อสังคมไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายเอกลักษณ์ความมั่น คงของขาติ ด้วยเหตุผลดังกล่าว    ทำให้ประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมแรงร่วมใจจัดหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับจัดตั้งสถานศึกษา  คือ   ที่ดินสาธารณประโยชน์ "ทุ่งพลงเหนือ" เนื้อที่ 50 ไร่ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ได้รับอนุมัติ  ให้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2526 โดยสังกัดกอง  ศิลปศึกษา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และเปิดสอนในระดับชั้นประกาศนียบัตนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตินาฏศิลป์ชั้นสูง

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 05 Apr 2011 07:00:00 +0700
วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/800-de6-9 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/800-de6-9



วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๒ งาน ๕๕ ตารางวา
ณ เลขที่ ๑๖ หมู่ที่ ๔  ถนนมาลัยแมน  ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ๗๒๐๐๐
วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี  ได้ประกาศจัดตั้งตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ  เมื่อวันที่ ๑๑  มกราคม  ๒๕๓๖
โดยยกฐานะขึ้นจากศูนย์ฝึกอบรมช่างสิบหมู่ของกรมศิลปากรให้เป็นวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
สังกัดกองศิลปศึกษา นับเป็นสถานศึกษาช่างศิลปส่วนภูมิภาคแห่งแรกของกรมศิลปากร
จัดการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศึกษาชั้นกลาง ( ศก ) โดยในปีการศึกษา  ๒๕๓๖ นี้
ได้จัดการศึกษาขึ้นเป็นปีแรก  มี นายกมล  สุวุฒโฑ  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

ปีการศึกษา ๒๕๓๘ วิทยาลัยได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนมาลัยแมนขึ้นมาอีกแผนกหนึ่งเพื่อตอบสนองนโยบาย
ของกระทรวงศึกษาธิการที่จัดให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปในท้องถิ่น
โดยเปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าฝึกอบรมศิลปะหลักสูตรระยะสั้นจำนวน ๑๓๖  ชั่วโมง  ใน ๓ สาขาคือ
จิตรกรรมสีน้ำ  สาขาวิชาภาพพิมพ์ซิลค์สกรีน  สาขาช่างสิบหมู่ ( ช่างรัก และช่างเขียน )
ปัจจุบันวิทยาลัยชุมชนดังกล่าวอยู่ในรูปของโครงการฝึกอบรมศิลปะสำหรับบุคคลทั่วไป
ซึ่งจัดการการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายสาขาและระยะเวลาฝึกอบรมที่แตกต่างกัน
ในปีนี้กรมศิลปากรได้ปรับปรุงส่วนราชการของกรมใหม่ 
อาทิ ได้แยกกองศิลปศึกษาออกเป็นสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์  และสถาบันศิลปกรรม
วิทยาลัยจึงได้ย้ายสังกัดจากกองศิลปศึกษามาสังกัดสถาบันศิลปกรรม
ทำให้การจัดการศึกษาด้านศิลปะของวิทยาลัยมีความคล่องตัวขึ้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๙กรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
และประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูงและได้เริ่มจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง
คือหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ( ศ.ปวส. )
เพื่อเป็นการรองรับนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับศิลปศึกษาชั้นกลาง ( ศก. )
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ศ.ปวช.)  หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.๖) หรือเทียบเท่า
เข้าศึกษาต่อใน ๓ สาขาวิชาเอก  คือ วิชาเอกจิตรกรรม  วิชาเอกออกแบบตกแต่ง และวิชาเอกภาพพิมพ์

ปีการศึกษา ๒๕๔๐  วิทยาลัยได้เปิดการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ศ.ปวส.)
ในวิชาเอกศิลปะไทยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขา

ปีการศึกษา ๒๕๔๑  วิทยาลัยมีนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ศ.ปวส.)  สำเร็จการศึกษาเป็นรุ่นแรก
จำนวน ๔๕ คน นอกจากนี้วิทยาลัยยังเปิดสอนสาขาวิชาเอกประติมากรรมเพิ่มขึ้นอีก ๑ สาขาด้วย

ปีการศึกษา ๒๕๔๒  นักเรียนหลักสูตรใหม่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ศ.ปวช.) จบการศึกษาเป็นรุ่นแรก 
ทำให้จำนวนนักเรียนที่จบมีเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในการเรียนของนักเรียน 
วิทยาลัยจึงได้เปิดสอนวิชาเอกเครื่องเคลือบดินเผาเพิ่มอีก ๑ สาขาในระดับ ศ.ปวส.
รวมเป็น ๖ สาขาวิชาและเปิดสอนมาจนถึงปัจจุบัน

ในปีนี้ผู้อำนวยการกมล  สุวุฒโฑ ได้รับคำสั่งกรมศิลปากรแต่งตั้งให้โยกย้าย
ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปและแต่งตั้งนายธงชัย รักปทุมผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป
มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี

ปีการศึกษา ๒๕๔๓  กรมศิลปากรมีคำสั่งแต่งตั้ง นายธงชัย รักปทุมผู้อำนวยการฯ
ไปดำรงตำแหน่งอธิการสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และแต่งตั้งนายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี

ปีการศึกษา ๒๕๔๕  เป็นยุคปฏิรูประบบราชการตามนโยบายของรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร
เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ประสงค์จะให้มีกระทรวงเพิ่มขึ้นอีกหลายกระทรวง  มีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นอาทิ 
กรมศิลปากรจึงย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกระทรวงตั้งใหม่ 
ให้มีบทบาทตามภาระหน้าที่การจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เป็นเอกภาพต่อไป
และวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีจึงได้ย้ายสังกัดจากสถาบันศิลปกรรม  ไปสังกัดอยู่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม ในปีนี้วิทยาลัยได้ระดมสรรพกำลังความคิดจากบุคลากรทุกฝ่ายช่วยกัน 
จัดทำธรรมนูญการศึกษาของวิทยาลัยขึ้น  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวิทยาลัย
ให้สมกับยุคปฏิรูปการศึกษาและระบบราชการ

ปีการศึกษา ๒๕๔๖  วิทยาลัยได้ปรับปรุงหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ด้วยการร่างหลักสูตรสถานศึกษา  หรือหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อนำมาจัดการเรียนในวิทยาลัย
ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของพรบ. การศึกษาแห่งชาติโดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษานี้เป็นต้นไป

ปีการศึกษา ๒๕๔๗  วิทยาลัยมีผู้อำนวยการคนใหม่ซึ่งย้ายมาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์อ่างทอง
คือนายสุขุม บัวมาศ ผู้อำนวยการคนใหม่นี้ได้พัฒนาวิทยาลัยให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
คือได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย แผนกลยุทธ์โดยเริ่มต้นจากการทำสวอท
กำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญา  พันธกิจ  กำหนดโครงการการบริหารภายในเพิ่มขึ้นจากเดิม
คือให้มีหัวหน้าภาควิชา  ๓ ภาควิชาคือ  ภาควิชาสามัญ ภาควิชาวิจิตรศิลป์  ภาควิชาศิลปะประยุกต์ 
ให้หัวหน้าภาควิชามาจากการเลือกตั้งอยู่ในวาระคราวละ ๒ ปีและไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน
ให้หัวหน้าภาควิชาเป็นคณะกรรมการบอรืดยริหารวิทยาลัยโดยตำแหน่ง  มีหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

ในปีการศึกษานี้วิทยาลัยได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

ปีการศึกษา ๒๕๔๘  วิทยาลัยได้รับอนุมัติจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  ให้เปิดห้องเรียนเครือข่ายหลักสูตรศิลปะบัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตรกรรม  มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน ๔ คน

ปีการศึกษา ๒๕๔๙  วิทยาลัยได้งดการเปิดสอนสาขาวิชาจิตรกรรมในระดับ ศ.ปวส.
เนื่องจากมีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีแล้ว

ปีการศึกษา ๒๕๕๐  วิทยาลัยได้รับอนุมัติจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ให้เปิดห้องเรียนสาขา
หลักสูตรศิลปบัณฑิตต่อเนื่อง ๒ ปี  ใน ๓ สาขาวิชาเอก คือสาขาจิตรกรรม  สาขาศิลปะไทย
และสาขาประติมากรรม

ในปีนี้วิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงต้นสังกัดครั้งสำคัญ
คือสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้มีพระราชบัญญัติยกฐานะขึ้นเป็นส่วนราชการมีฐานะขึ้นเป็นส่วนราชการ
มีฐานะเป็นนิติบุคคลเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม  จัดการศึกษาได้สูงสุดถึงระดับปริญญาเอก
ทำให้วิทยาลัยมีฐานะเป็นส่วนราชการหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
และในปลายปีนี้วิทยาลัยมีผู้อำนวยการคนใหม่ คือ นางสาวพัชรี ผลานุรักษา
ซึ่งย้ายมาจากวิทยาลัยช่างศิลป และผู้อำนวยการฯ นายสุขุม บัวมาศ
ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป เป็นการย้ายสลับกัน

ต่อมาเมื่อปี.........ระบบการสรรหาผู้อำนวยการวิทยาลัย อยู่ในรูปของการเลือกตั้ง 
นายวิฑูรย์  พูนสวัสดิ์ จึงได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี
และเป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบันของวิทยาลัย

วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีนับว่ามีความพร้อมทุกด้าน 
ที่จะพัฒนาสร้างสรรค์บุคลากรทางด้านศิลปะให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ 
มีคุณภาพที่จะออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติได้อย่างดียิ่ง 
ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยได้เข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียง 
และบางส่วนได้จบออกไปประกอบอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนตามองค์กรต่างๆ
ได้อย่างสมคุณค่าและน่าภาคภูมิใจ ทั้งนี้เพราะคณาจารย์และบุคคลากรวิทยาลัยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
มากด้วยประสบการณ์อาคารสถานที่ครบครัน  วัสดุอุปกรณ์ทันสมัย และที่สำคัญคือ วิทยาลัยมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนศิลปะอย่างสร้างสรรค์
นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวช่างศิลปสุพรรณบุรี

http://cfasp.bpi.ac.th/home.html

 

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 05 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/799-de6-8 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/799-de6-8

ประวัติของสถานศึกษา

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ได้รับการประกาศแต่งตั้งขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๔ ตามโครงการพัฒนาและจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์และดุริยางค์ไทย เริ่มปฏิบัติงานเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๒๕ โดยกรมศิลปากรได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโดยได้รับความอนุเคราะห์อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ และที่ทำการหน่วยศิลปากรที่ ๑ ลพบุรี เป็นที่ทำการชั่วคราว แนะแนวการศึกษารับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา ๒๕๒๖ เปิดรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ ๑ และผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางปีที่ ๑ เริ่มทำการเรียนการสอนเมื่อ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนช่างไม้เก่า (วัดราชา) ถนนพระยากำจัด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ต่อมาได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ ๑ อาคารโรงอาหาร และบ้านพักคนงาน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และดำเนินการเรียนการสอน ตั้งแต่วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นมา

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลปลพบุรี

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 05 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/798-de6-7 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/798-de6-7

ประวัติความเป็นมา          

         พ.ศ. 2521 กรมศิลปากรได้มีนโยบายขยายสถานศึกษาในสังกัดไปยังส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาองค์กรให้รับรองกับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสนองความต้องการของการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้ทั่วถึง หลังจากได้เปิดที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก กรมศิลปากรเล็งเห็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่สมบูรณ์ของท้องถิ่นภาคกลางที่จังหวัดอ่างทอง จึงได้ประสานไปยังหน่วยงาน ทางการศึกษาทั้งฝ่ายราชการ ชุมชน ผู้นำศาสนา และคณะบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายได้เห็นความสำคัญสอดคล้องกัน ทางฝ่ายบรรพชิตผู้นำชุมชนคนสำคัญ คือ พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระวิเศษชยสิทธิ์ (ผวน แสงเงิน) เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาส วัดอ่างทอง ฝ่ายราชการมีนายเสถียร จันทร์จำนง ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายสำราญ ปกป้อง ศึกษาธิการเขต 6 และนายบุญชู นิ่มวรรณณัง ศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง ในขณะนั้น ได้ร่วมเป็นผู้ผลักดันจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปขึ้นในจังหวัดอ่างทอง การก่อตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปในส่วนภูมิภาค ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2521 อาศัยอำนาจตามความ ในข้อ 23 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ให้จัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากรและเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงชั้นประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521 หลังจากประกาศให้จัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทองแล้ว ได้ดำเนินการขอใช้อาคารเรียนของโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์(เดิม) ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดอ่างทองวรวิหาร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เปิดสอนครั้งแรกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2521 ในระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 1 และนาฏศิลป์ ชั้นกลางปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์โขน ละคร ปี่พาทย์ เครื่องสายไทย และคีตศิลป์ไทย โดยมีนายจตุพร รัตนวราหะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัย มีครูอาจารย์จำนวน 10 คน มีครูอาจารย์ ช่วยราชการจากโรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์ราษฏร์บำรุง และโรงเรียนสตรีอ่างทองอีก 10 คน จำนวน นักเรียนทั้งสิ้น 188 คน ต่อมาโรงเรียนสตรีอ่างทองได้ย้ายสถานที่แห่งใหม่ กรมสามัญศึกษาจึงมอบอาคารและที่ดินจำนวน 10 ไร่ ของโรงเรียนสตรีอ่างทอง ให้เป็นสถานศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2524 ต่อมา พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระวิเศษชยสิทธิ์ ร่วมกับครู อาจารย์ นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ได้ซื้อที่ดินเป็นจำนวน 1 ไร่ ราคา 250,000 บาท มอบให้วิทยาลัยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2524

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Tue, 12 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/795-de6-4 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/795-de6-4

          วิทยาลัยนาฎศิลปร้อยเอ็ดเป็นวิทยาลัยสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร แห่งที่ 3 ในจำนวนวิทยาลัยนาฏศิลปส่วนภูมิภาคทั้งหมด 9 แห่งซึ่งการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดได้เริ่มจากการสำรวจพื้นที่ที่จะ จัดตั้งวิทยาลัย กล่าวคือเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ พร้อมคณะได้ทำการสำรวจพื้นที่จะจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด เพื่อขยายการศึกษาด้าน

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Fri, 08 Apr 2011 00:00:00 +0700
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/793-de6-2 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/793-de6-2

ประวัติวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
         วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติจากกรมศิลปากรให้ก่อตั้งขึ้นในปีงบประมาณ 2514 โดยใช้ตึกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2514 มีนางสาวประนอม ทองสมบุญ เป็นผู้บริหารคนแรกจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2516 มีการปลูกสร้างอาคารเรียนถาวรบริเวณวัดสังกา(ร้าง) ถนนสุริยวงศ์ ซอย 5 ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และย้ายโรงเรียนนาฏศิลปเชียงใหม่มาอยู่ที่แห่งใหม่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

ข้อมูลติดต่อ
เลขที่ 1 ถนนสุริยวงศ์ ซอย 5 ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์ 053 - 271 - 596, 053 - 283 - 561 - 2
โทรสาร 053 - 283 - 560
เว็บไซต์ http://cdacm.bpi.ac.th
อีเมล : cdacm@bpi.mail.go.th

เข้าสู่เว็บไซต์ วิทยาลัยนาฎศิลปเชียงใหม่

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Fri, 08 Apr 2011 07:00:00 +0700
วิทยาลัยช่างศิลป http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/792-de6-1 http://webadmin.bpi.ac.th/index.php/en/about-us/department/department6/item/792-de6-1

cc04 cc05

วิทยาลัยช่างศิลป์
วิทยาลัยช่างศิลปมีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนศิลปศึกษา” ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2495 โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2495 เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ทั้งศิลปะไทย และศิลปะสากล

ในปี พ.ศ. 2500 กำหนดฐานะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามีชื่อว่า “โรงเรียนศิลปศึกษาเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร” และย้ายมาสังกัดกองหัตถศิลปะ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเรียนการสอนอาคารเรียนร่วมกับ โรงเรียนนาฏศิลป โดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง (ป.ป.ช.) และต่อมาเปิดหลักสูตรประโยคมัธยมการช่าง (ป.ม.ช.) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 จนปีการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนช่างศิลปขึ้นเป็น “หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2539 (ศ.ปวช.)” และหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ศ.ปวส.)

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 วิทยาลัยช่างศิลป ย้ายต้นสังกัด จากสถาบันศิลปกรรมมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 วิทยาลัยช่างศิลปและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์แยกมาจากกรมศิลปากร และ พ.ศ. 2552 วิทยาลัยช่างศิลป์ปรับโครงสร้างการบริหารตามประกาศของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์โดยจัดให้มีการสรรหาผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นปละผู้อำนวยการคนแรกคือนางสมบัติ กุลางกูร

cc06

วิสัยทัศน์
วิทยาลัยช่างศิลป์เป็นสถาบันจัดการศึกษาด้านศิลปกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติ

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาด้านศิลปกรรมระดับพื้นฐานวิชาชีพ ถึงวิชาชีพชั้นสูงที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ระดับชาติและนานาชาติ
2. สร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมอย่างมีคุณค่า
3. เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการบริการวิชาการด้านศิลปกรรม
4. อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาและเผยแพร่ด้านศิลปกรรม

การจัดการศึกษา
วิทยาลัยช่างศิลปมีการจัดการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งใช่ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในหลักสูตรศิลปกรรม (ศ.ปวส.) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 2 ปี ให้มีสาขาวิชาต่างๆ ให้เลือกเรียน 8 สาขา จิตกรรม ปติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย ออกแบบตกแต่ง สถาปัตยกรรมไทย ช่างสิปปหมู่ (ช่างเขียน ช่างรัก ช่างปั้น)

ผลการดำเนินงาน
1. งานเขียนฉากบังเพลิงพระเมรุ สมเด็จพระศรีนคริทนรทราบรมราชชนนี
2. งานเขียนฉากบังเพลิงพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครรินทร์
3. โครงการฝึกอบรมสืบทอดศิลปวัฒนธรรมงานช่างสิปปหมู่ ณ อุทยาน ร.๒
4. โครงการฝึกอบรมศิลปะสำหรับบุคคลภายนอก

ข้อมูลติดต่อ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
โทรศัพท์ : 02 - 326 - 4002 - 4
โทรสาร : 02 - 326 - 4013
เว็บไซต์ : http://cfa.bpi.ac.th

]]>
piangnapa@2fellows.com (Super) วิทยาลัย Fri, 08 Apr 2011 00:00:00 +0700