https://essaywritingrules.net/  วิทยาลัยช่างศิลป - สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย

วิทยาลัยช่างศิลป

cc04 cc05

วิทยาลัยช่างศิลป์
วิทยาลัยช่างศิลปมีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนศิลปศึกษา” ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2495 โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2495 เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ทั้งศิลปะไทย และศิลปะสากล

ในปี พ.ศ. 2500 กำหนดฐานะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามีชื่อว่า “โรงเรียนศิลปศึกษาเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร” และย้ายมาสังกัดกองหัตถศิลปะ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเรียนการสอนอาคารเรียนร่วมกับ โรงเรียนนาฏศิลป โดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง (ป.ป.ช.) และต่อมาเปิดหลักสูตรประโยคมัธยมการช่าง (ป.ม.ช.) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 จนปีการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนช่างศิลปขึ้นเป็น “หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2539 (ศ.ปวช.)” และหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ศ.ปวส.)

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 วิทยาลัยช่างศิลป ย้ายต้นสังกัด จากสถาบันศิลปกรรมมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 วิทยาลัยช่างศิลปและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์แยกมาจากกรมศิลปากร และ พ.ศ. 2552 วิทยาลัยช่างศิลป์ปรับโครงสร้างการบริหารตามประกาศของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์โดยจัดให้มีการสรรหาผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นปละผู้อำนวยการคนแรกคือนางสมบัติ กุลางกูร

cc06

วิสัยทัศน์
วิทยาลัยช่างศิลป์เป็นสถาบันจัดการศึกษาด้านศิลปกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติ

พันธกิจ
1. จัดการศึกษาด้านศิลปกรรมระดับพื้นฐานวิชาชีพ ถึงวิชาชีพชั้นสูงที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ระดับชาติและนานาชาติ
2. สร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่เป็นองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมอย่างมีคุณค่า
3. เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการบริการวิชาการด้านศิลปกรรม
4. อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาและเผยแพร่ด้านศิลปกรรม

การจัดการศึกษา
วิทยาลัยช่างศิลปมีการจัดการเรียนการสอน 2 ระดับ คือ
1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งใช่ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี
2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในหลักสูตรศิลปกรรม (ศ.ปวส.) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 2 ปี ให้มีสาขาวิชาต่างๆ ให้เลือกเรียน 8 สาขา จิตกรรม ปติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย ออกแบบตกแต่ง สถาปัตยกรรมไทย ช่างสิปปหมู่ (ช่างเขียน ช่างรัก ช่างปั้น)

ผลการดำเนินงาน
1. งานเขียนฉากบังเพลิงพระเมรุ สมเด็จพระศรีนคริทนรทราบรมราชชนนี
2. งานเขียนฉากบังเพลิงพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครรินทร์
3. โครงการฝึกอบรมสืบทอดศิลปวัฒนธรรมงานช่างสิปปหมู่ ณ อุทยาน ร.๒
4. โครงการฝึกอบรมศิลปะสำหรับบุคคลภายนอก

ข้อมูลติดต่อ
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 60 ถนนหลวงพรต เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
โทรศัพท์ : 02 - 326 - 4002 - 4
โทรสาร : 02 - 326 - 4013
เว็บไซต์ : http://cfa.bpi.ac.th

Weblink